จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ธรรมะ คือ คุณากร


 
 
ภาพ : http://www.dhammathai.org/gallery/lotus.php?name=lotus10

" อยู่อย่างผู้ยิ่งใหญ่ได้ไม่ยาก หากมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา "
 

จากวงสนทนากันเล่น มีคนหนึ่งเอ่ยขึ้นมา "ธรรมะคืออะไร" เพื่อนร่วมวงบางคนและหลายคนให้ความเห็นที่แตกต่างกันไป

ธรรม คือ...เรื่องธรรมดา ๆ ตามธรรมชาติ เกิดขึ้น มีอยู่ สิ้นสลายไป...สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ...คำสอนของศาสดา...ข้อประพฤติปฏิบัติ...หน้าที่ที่ทำในปัจจุบัน......

บางคนบอกว่าเป็นเรื่องของคนแก่ที่เข้าวัดทำบุญทำทาน..

แต่คนตั้งคำถามเฉลยน่าตาเฉยว่า "ธรรมะ คือ คุณากร" ถ้าไม่คิดต่อก็คงจะจบเพียงเท่านั้น

ธรรมะ คือ คุณากร คืออะไรกัน

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายทั้งสองคำไว้ดังนี้

ธรรมะ, คือ คุณงามความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลธรรม; คำสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม;

ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฏ, กฏเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฏหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; ส่ิ่งทั้งหลาย,สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม;

"ธรรมะ" ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ : พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต) ดังนี้

"ธรรม" สภาพทรงไว้, ธรรมดา,ธรรมชาติ,สัจจธรรม,ความจริง; ส่ิ่ง,ปรากฏการณ์,ธรรมารมณ์,สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี,ความถูกต้อง,ความประพฤติชอบ; หลักการ , แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุคิธรรม, พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น.

สรรพสิ่งล้วนเป็นเรื่องของธรรมธะ จริง ๆ นะ

ส่วนคำว่า "คุณากร" คือ บ่อเกิดแห่งความดี, ที่รวมแห่งความดี,

ธรรมะ จึงเกี่ยวเนื่องกับโลกของเราเสมอมา มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า โลกที่ล่องลอยอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะความรัก ถ้าเราอยู่ร่วมกัน ความรัก ความปรารถนาดี เกื้อกูล หนุนนำซึ่งกันและกัน โลกของเราคงไม่เดือดร้อน วุ่นวาย แก่งแย่ง แบ่งฝ่ายชิงดี ชิงเด่น และไม่ต้องประสบภัยธรรมชาติ ในปัจจุบัน

โดยเฉพาะ มนุษย์เรา ควรที่จะมีคุณธรรมพื้นฐานในจิตใจ คือ “พรหมวิหารธรรม” ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ,ธรรมประจำใจอันประเสริฐ,หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์, ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ จึงชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ

๑. ความเมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า

๒. กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องความทุกเดือดร้อนของปวงสัตว์

๓. มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตใจผ่องใสบันเทิง กรอปรด้วยอาการเช่มชื่นเบิกบานอยู่่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป

๔. อุเบกขา คือ ความวางใจ อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือ มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้ง รู้จักวางเฉย สงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลออันสมกับความรับผิดชอบของตน

ผู้ดำรงในพรหมวิหาร ย่อมช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตา กรุณา และย่อมรักษาธรรมไว้ได้ด้วยอุเบกขา ดังนั้น แม้จะมีกรุณาที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์แต่ก็ต้องมีอุเบกขาด้วยที่จะมิให้เสียธรรม

พรหมวิหารนี้ บางที่แปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ของพรม, ธรรมเครื่องอยู่อย่างพรหม,ธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอพรหม, หรือธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้ยิ่งใหญ่

พรหมวิหาร ๔ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัปปมัญญา ๔ (ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ) เพราะแผ่สม่ำเสมอโดยทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ไม่จำกัดของเขต

พรหมวิหารมีอยู่ในผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นประพฤติปฏิบัติเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ด้วยสังคหวัตถุเป็นต้น

เป็นพรหมได้ไม่ยากหากมีพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

แต่ถ้าเป็นคน “หลงอำนาจ ฉ้อราษฎร์บังหลวง หลอกลวงลูกน้อง ปกป้องคนชั่ว มั่วอบายมุข” เรียกอะไรกันดี..???

............................................................................................................................................................

ที่มา:
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชชั่นส์,2556
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม กรุงเทพ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด,2518

วิวรรธนพงศ์
๒๒ กันยายน ๒๕๕๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น