จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

งดงามด้วยความรัก ความเมตตา: บอกเล่าเก้าสิบ

งดงามด้วยความรัก ความเมตตา: บอกเล่าเก้าสิบ: “สิ่งดีดีมีไว้เพื่อแบ่งปัน และหนึ่งกำลังใจมอบให้กับสิ่งดีดีที่คุณทำ” วันจันทร์ที่ ๘ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔                 ว...

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

กลุ่มจุดตะเกียง: คุณค่าจากการให้....

กลุ่มจุดตะเกียง: คุณค่าจากการให้....: พงษ์ดนัย ชายหนุ่มผู้มีชีวิตอาจกล่าวได้ว่าสมบูรณ์แบบ...หน้าตาหล่อเหลา.... การศึกษาสูง...หน้าที่การงานมั่นคง...มีความก้าวหน้าในอนาคต คนรอบข้าง...

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

"ชีวิตนี้สำคัญนัก"

ชีวิตนี้สำคัญนัก
พุทธศาสนาสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า
อปฺปกญฺจิทํ  ชีวิตมาหุ  ธีรา
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
ทุกชีวิตไม่ว่าคน  ไม่ว่าสัตว์  มิได้มีเพียงเฉพาะชีวิตนี้  คือมิได้มีเพียงชีวิตในชาตินี้ชาติเดียว  แต่ทุกชีวิตมีทั้งชีวิตในชาติอดีต  ชีวิตในชาติปัจจุบัน และชีวิตในชาติอนาคต
“ชีวิตน้อยนัก”  หมายถึง ชีวิตในชาติปัจจุบันน้อยนัก สั้นนัก 
ชีวิตคืออายุ ชีวิตในปัจจุบันชาติของแต่ละคน อย่างยืนนานที่สุดก็เกินร้อยปีได้ไม่เท่าไร ซึ่งก็ดูเหมือนเป็นอายุที่ไม่ยืนมากนัก  แม้ไม่นำไปเปรียบกับชีวิตที่ต้องผ่านมาแล้วในอดีตที่นับชาติไม่ถ้วน นับปีไม่ได้ และชีวิตที่จะต้องเวียนวนเกิดตายต่อไปอีกในอนาคตที่จะนับชาติไม่ถ้วน นับปีไม่ได้อีกเช่นกัน
ที่ปราชญ์ท่านว่า  “ชีวิตนี้น้อยนัก” นั้น ท่านมุ่งให้เปรียบชีวิตนี้ กับชีวิตในอดีตที่นับชาติไม่ถ้วนและชีวิตในอนาคตที่จะนับชาติไม่ถ้วนอีกเช่นกัน  สำหรับผู้ไม่ยิ่งด้วยปัญญา  ไม่สามารถพาตนให้พ้นทุกข์สิ้นเชิงได้
ทุกชีวิตก่อนจะได้มาเป็นคนเป็นสัตว์อยู่ในปัจจุบันชาติ  ต่างเป็นอะไรต่อมิอะไรมาแล้วมากมาย  แยกออกไม่ได้ว่ามีกรรมดีกรรมชั่วอะไรบ้าง  ทำกรรมใดก่อน  ทำกรรมใดหลัง  ทั้งกรรมดีกรรมชั่วที่ทำไว้ในชาติอดีตทั้งหลาย  ย่อมมากมายเกินกว่าที่ได้มากระทำในชาตินี้ในชีวิตนี้อย่างประมาณมิได้  และกรรมดีกรรมชั่วทั้งหลายเหล่านั้น  ย่อมให้ผลตรงตามเหตุทุกประการ  แม้ว่าผลอาจจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันทุกสิ่งทุกอย่าง และอาจไม่เรียงลำดับตามเหตุที่ได้กระทำแล้วก็ตาม   แต่ผลทั้งหลายย่อมเกิดแน่  แม้เหตุได้กระทำแล้ว
เมื่อมีเหตุย่อมมีผล  เมื่อทำเหตุย่อมได้รับผล  และผลย่อมตรงตามเหตุเสมอ 
ผู้ใดทำ  ผู้นั้นจะเป็นผู้ได้รับผล  เที่ยงแท้แน่นอน
เมื่อใดกำลังมีความสุข  ไม่ว่าผู้กำลังมีความสุขนั้นจะเป็นเราหรือเขา  เมื่อนั้นพึงรู้ความจริงว่า เหตุดีที่ได้ทำไว้แน่กำลังให้ผล  ผู้ทำเหตุดีนั้นกำลังเสวยผลแห่งเหตุนั้นอยู่  แม้ปุถุชนจะไม่สามารถหยั่งรู้ให้เห็นแจ้งได้ว่า  ทำเหตุดีหรือกรรมดีใดไว้  แต่ก็พึงรู้พึงมั่นใจว่า  เหตุแห่งความสุขที่กำลังได้เสวยอยู่เป็นเหตุดีแน่  เป็นกรรมดีแน่  ผลดีเกิดแต่เหตุดีเท่านั้น  ผลดีไม่มีเกิดแต่เหตุไม่ดีได้เลย
เมื่อใดกำลังมีความทุกข์ความเดือดร้อน  ไม่ว่าผู้กำลังมีความทุกข์ความเดือดร้อนนั้นจะเป็นเราหรือเป็นเขา  เมื่อนั้นพึงรู้ความจริงว่า  เหตุไม่ดีที่ได้ทำไว้แน่กำลังให้ผล  ผู้ทำเหตุไม่ดีนั้นกำลังเสวยผลแห่งเหตุนั้นอยู่  แม้ปุถุชนไม่สามารถหยั่งรู้ให้เห็นแจ้งได้ว่าทำเหตุไม่ดีหรือกรรมไม่ดีไดไว้  แต่ก็พึงรู้พึงมั่นใจว่าทำเหตุแห่งความทุกข์ความเดือดร้อนที่กำลังได้เสวยอยู่เป็นเหตุไม่ดีแน่  เป็นกรรมไม่ดีแน่  ผลไม่ดีเกิดแต่เหตุไม่ดีเท่านั้น  ผลไม่ดีไม่มีเกิดแต่เหตุดีได้เลย
ทำดีต้องได้ดีเสมอ  ไม่มียกเว้นด้วยเหตุผลใดทั้งสิ้น
เมื่อใดมีความคิดว่าเราทำดีไม่ได้ดี  หรือเขาทำดีไม่ได้ดีแต่กลับได้ดี  ก็พึงรู้ว่าเมื่อนั้นกำลังหลงผิดจากความเป็นจริง  กำลังเข้าใจผิดจากความเป็นจริง
ทำไม่ดีต้องได้ไม่ดีเสมอ  ไม่มียกเว้นด้วยเหตุผลใดทั้งสิ้น
(จากหนังสือ สิริมงคลของชีวิต  สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
 

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ธรรมะ คือ คุณากร


 
 
ภาพ : http://www.dhammathai.org/gallery/lotus.php?name=lotus10

" อยู่อย่างผู้ยิ่งใหญ่ได้ไม่ยาก หากมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา "
 

จากวงสนทนากันเล่น มีคนหนึ่งเอ่ยขึ้นมา "ธรรมะคืออะไร" เพื่อนร่วมวงบางคนและหลายคนให้ความเห็นที่แตกต่างกันไป

ธรรม คือ...เรื่องธรรมดา ๆ ตามธรรมชาติ เกิดขึ้น มีอยู่ สิ้นสลายไป...สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ...คำสอนของศาสดา...ข้อประพฤติปฏิบัติ...หน้าที่ที่ทำในปัจจุบัน......

บางคนบอกว่าเป็นเรื่องของคนแก่ที่เข้าวัดทำบุญทำทาน..

แต่คนตั้งคำถามเฉลยน่าตาเฉยว่า "ธรรมะ คือ คุณากร" ถ้าไม่คิดต่อก็คงจะจบเพียงเท่านั้น

ธรรมะ คือ คุณากร คืออะไรกัน

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายทั้งสองคำไว้ดังนี้

ธรรมะ, คือ คุณงามความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลธรรม; คำสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม;

ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฏ, กฏเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฏหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; ส่ิ่งทั้งหลาย,สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม;

"ธรรมะ" ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ : พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต) ดังนี้

"ธรรม" สภาพทรงไว้, ธรรมดา,ธรรมชาติ,สัจจธรรม,ความจริง; ส่ิ่ง,ปรากฏการณ์,ธรรมารมณ์,สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี,ความถูกต้อง,ความประพฤติชอบ; หลักการ , แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุคิธรรม, พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น.

สรรพสิ่งล้วนเป็นเรื่องของธรรมธะ จริง ๆ นะ

ส่วนคำว่า "คุณากร" คือ บ่อเกิดแห่งความดี, ที่รวมแห่งความดี,

ธรรมะ จึงเกี่ยวเนื่องกับโลกของเราเสมอมา มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า โลกที่ล่องลอยอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะความรัก ถ้าเราอยู่ร่วมกัน ความรัก ความปรารถนาดี เกื้อกูล หนุนนำซึ่งกันและกัน โลกของเราคงไม่เดือดร้อน วุ่นวาย แก่งแย่ง แบ่งฝ่ายชิงดี ชิงเด่น และไม่ต้องประสบภัยธรรมชาติ ในปัจจุบัน

โดยเฉพาะ มนุษย์เรา ควรที่จะมีคุณธรรมพื้นฐานในจิตใจ คือ “พรหมวิหารธรรม” ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ,ธรรมประจำใจอันประเสริฐ,หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์, ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ จึงชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ

๑. ความเมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า

๒. กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องความทุกเดือดร้อนของปวงสัตว์

๓. มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตใจผ่องใสบันเทิง กรอปรด้วยอาการเช่มชื่นเบิกบานอยู่่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป

๔. อุเบกขา คือ ความวางใจ อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือ มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้ง รู้จักวางเฉย สงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลออันสมกับความรับผิดชอบของตน

ผู้ดำรงในพรหมวิหาร ย่อมช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตา กรุณา และย่อมรักษาธรรมไว้ได้ด้วยอุเบกขา ดังนั้น แม้จะมีกรุณาที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์แต่ก็ต้องมีอุเบกขาด้วยที่จะมิให้เสียธรรม

พรหมวิหารนี้ บางที่แปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ของพรม, ธรรมเครื่องอยู่อย่างพรหม,ธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอพรหม, หรือธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้ยิ่งใหญ่

พรหมวิหาร ๔ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัปปมัญญา ๔ (ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ) เพราะแผ่สม่ำเสมอโดยทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ไม่จำกัดของเขต

พรหมวิหารมีอยู่ในผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นประพฤติปฏิบัติเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ด้วยสังคหวัตถุเป็นต้น

เป็นพรหมได้ไม่ยากหากมีพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

แต่ถ้าเป็นคน “หลงอำนาจ ฉ้อราษฎร์บังหลวง หลอกลวงลูกน้อง ปกป้องคนชั่ว มั่วอบายมุข” เรียกอะไรกันดี..???

............................................................................................................................................................

ที่มา:
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชชั่นส์,2556
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม กรุงเทพ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด,2518

วิวรรธนพงศ์
๒๒ กันยายน ๒๕๕๕

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

งดเหล้าเข้าพรรษา

ภาพ : http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/16168
.......................................................................................................................................................................
เทศกาลวันเข้าพรรษา
นี่ก็ใกล้วันเข้าพรรษาแล้ว ปีนี้ตรงกับวันที่ ๓ กรกฏาคม ๒๕๕๕ (วันศุกร์แรม ๑ ค่ำ เดือน (๘) ๒ หน  การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาในที่แห่งเดียว ตลอด ๓ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ห้ามมิให้ พระภิกษุเที่ยวไปค้างคืนที่อื่น หากมีกิจธุระที่จำเป็นและชอบด้วยพระวินัย  ต้องไปได้ด้วยการทำสัตตาหกรณียะ คือ เมื่อทำกิจธุระเสร็จเรียบร้อยต้องกลับมา หรือยังไม่แล้วเสร็จ ก็ต้องกลับมาที่พักเดิมภายใน ๗ วัน
ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่เอื้อต่อการบำเพ็ญกุศลขง พุทธศาสนิกชน จึงถือเอาเทศกาลเข้าพรรษาเป็นเรื่องของการทำความดีงามให้แก่ตนเอง เช่น บางคนตั้งสัจจะอธิษฐานจะถือศีล ๘ , ไม่ดื่มของมึนเมา,ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง หรือ ปฏิบัติธรรมตลอดระยะเวลาสามเดือน เป็นต้น เพราะมีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาในวัดนั้นๆ ตลอดระยะเวลาถึง ๓ เดือน
พิธีหล่อเทียนและถวายเทียนพรรษา ถือเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณกาล เพื่อที่จะให้พระภิกษุสงฆ์จุดเทียนเพื่อทำกิจของสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษา เพราะสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าเหมือนปัจจุบัน จึงต้องอาศัยแสงสว่างจากเทียน    
การถวายเทียนพรรษา เกิดอานิสงส์หลายประการ  ได้แก่ เกิดสติ ปัญญา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปรียบดังแสงสว่างแห่งเทียน,ทำให้เจริญด้วยมิตรบริวาร,ย่อมเป็นที่รักใครของหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,ย่อมไปสู่สุขคติ และทำให้เรื่องราวต่างๆ  ที่มีปัญหาให้ร้ายกลายเป็นดี หรือคลายจากความทุกข์
  
พิธีถวายเทียนพรรษา
·       พุทธศาสนิกชนชนพร้อมกัน ณ บริเวณวัดหรือศาสนสถานที่จะถวายเทียน
·       ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
·       พุทธศาสนิกชนกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยพร้อมกัน
อิมินา  สักกาเรนะ   พุทธัง  อภิปูชยามิ
อิมินา  สักกาเรนะ   ธัมมัง  อภิปูชยามิ
อิมินา  สักกาเรนะ   สังฆัง  อภิปูชยามิ
·       บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา  พุทธังภะคะวันตัง  อภิวาเทมิ  (กราบ)
สะวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  ธัมมัง  นะมัสสามิ  (กราบ)
สุปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สังฆัง  นะมามิ (กราบ)
·       กล่าวคำอาราธนาศีลพร้อมกัน
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
·       ประธานสงฆ์ให้ศีลและพุทธศาสนิกชน
·       พุทธศาสนิกชนรับศีล
·       กล่าวคำถวายเทียนพรรษา
·       กล่าวนะโมฯ พร้อมกันก่อน
·       นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
·       พิธีกรกล่าวนำคำถวายเทียน
       อิมานิ, มะยัง ภันเต, ปะทีปัง สะปะริวารัง, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุโน ภันเต, ภิกขุ สังโฆ, อิมานิ ,ปะทีปัง สะปะริวารัง, ปฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ สุขายะฯ
คำแปล
       ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวายเทียน,กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้,
แก่พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์,จงรับเทียน, กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้, เพื่อประโยชน์และความสุข,
แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, สิ้นกาลนานเทอญ ฯ
·       ประเคนเทียนพรรษาพร้อมจตุปัจจัยไทยธรรม
·       พระสงฆ์อนุโมทนา
·       คำลาพระ
หันทะทานิ, มะยัง ภันเต, อาปุจฉามะ  พะหุกิจจา มะยัง พะหุกะระณียาฯ
พระสงฆ์ผู้รับลากล่าวคำว่า “ยัสสะทานิ ตุมเห กาลัง มัญญะถะฯ W
ผู้ลาพึงรับพร้อมกันว่า  “สาธุ ภันเตฯ”
แล้วกราบ ๓ ครั้ง
(คำแปลคำลาพระกลับบ้าน
บัดนี้ได้เวลาแล้วขอรับ พวกกระผม (ดิฉัน) มีกิจที่จะต้องทำอีกมาก จึงขอกราบลา
ผู้คนส่วนมากเวลากลับบ้านจะใช้วิธีกราบพระ ๓ ครั้ง คือ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ - สุปะฏิปันโน ฯ
คำลาพระบทนี้จึงมีผู้ใช้น้อยมาก  และคำถวายเทียนพรรษามีหลายบทแล้วแต่จะเลือกใช้)
“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
เจ้าภาพจัดเตรียม
-         เทียนพรรษาพร้อมจตุปัจจัยไทยธรรม
-         ธูปเทียนรวมทั้งดอกไม้สำหรับพานขอรับศีล
-         น้ำหยาดให้ประธาน
คำถวายเทียนอีกแบบหนึ่ง
        อิมานิ มะยัง ภันเต, วัสสิกะปะทีปานิ, สะปะริวารานิ,เตมาสัง, พุทธัสสะ, ปูชะนัตถายะ, อิมัสสะหมิง อาวาเส, นียาเทมะ, สาธุโน ภันเต, อะยัง เตมาสัง, วัสสิกะปะทีปานัง, ทานัสสะ, อานิสังโส, อัมหากัญเจวะ, ฑีฆะรัตตัง , หิตายะ , สุขายะ , นิพพานายะ จะ ฯ
คำแปลข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ , ข้าพเจ้าทั้งหลาย,ขอน้อมถวาย ,เทียนพรรษา , พร้อมด้วยบริวารทั้งหลาย-เหล่านี้, ไว้ในอาวาสแห่งนี้, เพื่อเป็นพุทธบูชา, ตลอดพรรษา,ขออานิสงส์, แห่งการถวายเทียนพรรษา, ตลอดพรรษานี้,
จงเป็นไป, เพื่อประโยชน์, เพื่อความสุข, เพื่อมรรคผลนิพพาน, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย , ตลอดกาลนานเทอญฯ
คำถวายเทียนอีกแบบหนึ่ง
         อิมัง ภันเต พุทธะปูชายะ วัสสะคะตัง ปะทีปัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต อิมัง วัสสะคะตัง ปะทีปัง ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญจะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ เปตานัง สัพเพสัญจะ เทวะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปลข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย,ซึ่งเทียนจำพรรษาเล่มนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาแด่พระสงฆ์,
ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งเทียนจำพรรษาเล่มนี้ เพื่อประโยชน์,เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่มารดาบิดา ญาติสายโลหิตมิตรสหาย ที่ล่วงลับไปแล้วยังปรโลกด้วย กับเทพยดาทั้งหลาย ทั้งปวง สิ้นกาลนาน เทอญฯ

...................................................................................................................................................................

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กรรมต่าง ๆ ซับซ้อนกันอยู่มากมาย

กรรมต่าง ๆ ซับซ้อนกันอยู่มากมาย
คนเรานั้นได้ทำกรรมต่าง ๆ ซับซ้อนกันอยู่มากมาย ทั้งในอดีตและชาตินี้  เมื่อเกิดมาในชาตินี้ บางทีกระทำดีต่าง ๆ อยู่แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับผลดี ทั้งนี้ก็หาใช่ว่ากรรมดีที่ทำไว้นั้นจะไม่ให้ผล แต่ก็เพราะว่ากรรมไม่ดีที่ทำไว้แต่ชาติก่อนให้ผลจึงรับผลที่ไม่ดี กรรมดีที่ทำอยู่ปัจจุบันนี้ก็จะให้ผลในเวลาต่อไป หรือบางคนทำกรรมชั่วในปัจจุบันแต่ก็ปรากฏว่าได้รับผลดี ผลดีที่ได้รับนั้นไม่ใช่เป็นผลของกรรมชั่วที่ทำอยู่ แต่เป็นผลของกรรมดีที่ได้กระทำไว้ก่อน เมื่อหมดผลของกรรมดีแล้วผลของกรรมชั่วก็จะปรากฏขึ้น เขาก็จะเข้าถึงทุกข์
กุศลกรรมที่ประกอบในชาตินี้ ถ้ากรรมเก่าซึ่งเป็นอกุศลกรรมยังส่งผลหรือมีกำลังแรงกว่า ก็ต้านทานอกุศลกรรมได้ยาก ไม่ต้องมองดูให้ไกลออกไป แต่มองดูกุศล อกุศลกรรมในจิตใจในบัดนี้ เช่น บุคคลหนึ่งมีเจตนาแน่วแน่ในการประกอบกุศลกรรม เพื่อประโยชน์สุขสำหรับส่วนรวม ขณะเดียวกันก็มีบุคคลอีกคนหนึ่งหรือหลายคน มีจิตริษยาเสียแล้ว ทั้งที่ก็มีจิตอยากจะทำดีเหมือนกัน แต่อยากจะทำดีเพื่อให้ดีแต่ผู้เดียว ตัวอย่างนี้เห็นได้ว่าความอิจฉาริษยายังมีอำนาจแรงอยู่ แสดงว่าอกุศลกรรมฝ่ายความริษยายังมีอำนาจแรงกว่า ทั้ง ๆ ที่วัตถุประสงค์ในด้านกุศลกรรมก็มีอยู่ตรงกัน ไม่ต้องกล่าวถึงบุคคลที่ปราศจากเหตุผล จิตคิดจะทำดีมีแต่อิจฉาริษยาเท่านั้น เป็นผู้ทำลายโลกโดยแท้
ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นต้องฝึกฝนตนเองให้มีกุศลกรรมให้มากขึ้น เช่น ถ้าเป็นคนมักริษยาคนอื่น ก็ต้องหัดทำมุทิตาจิต คือ ตั้งใจหัดใจทำความยินดีในกุศลกรรม ในความสุขความเจริญของผู้อื่นอยู่เสมอ เมื่อกุศลกรรมฝ่ายมุทิตานี้เจริญมากขึ้น อกุศลกรรมฝ่ายริษยาก็จะลดลงจนหายไปได้ จะทำให้เกิดความคิดส่งเสริมทุกคนผู้ประกอบกุศลกรรม เพื่อให้สำเร็จผลเร็วยิ่งขึ้น
เราทุกคนมีกรรมดีกรรมชั่วติดตัวมาตั้งแต่อดีตชาติ ผลของกรรมเหล่านั้น ก็ทำให้เราเกิดในครอบครัวต่าง ๆ จน มี ดี ชั่ว ฉลาด โง่ สวย ไม่สวย  ความพิการทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ จะเป็นผลของกรรมเช่นกัน เพราะไม่มีใครเกิดมาอยากพิการ หูหนวก ตาบอด แขนด้วน ง่อยเปลี้ย จิตใจไม่ปกติ ไม่สมประกอบ หรือปัญญาอ่อน เป็นต้น
...เมื่อเราเข้าใจและเชื่อในท่านผู้รู้ (พระพุทธเจ้า) ว่าที่เราเป็นอย่างนี้  ดีบ้างไม่ดีบ้าง ก็เพราะกรรมที่เราได้ทำมา ก็ควรพยายามทำกรรมดีเพื่อความสุขความเจริญของเราในภายหน้า... ผู้ที่ประกอบกรรมดีอย่างหนักและบ่อย ๆ กรรมดีนี้อาจชนะกรรมชั่วที่เบาที่ได้ทำไว้ในอดีต
กรรมที่สำคัญที่ ๑ คือ ทางใจ ควรฝึกใจให้มีความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไม่ให้มีอิจฉาริษยา ไม่เบียดเบียน ไม่นินทา ไม่พยาบาท เป็นต้น การกระทำที่ไม่ดีทางกาย และทางวาจา ก็จะลดน้อยลงจนหมด มีจิตใจการปฏิบัติสะอาด นั่นแหละคือความสุขที่แท้จริง

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก